Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

ทำความรู้จัก "กระท่อม" หลังเปิดเสรี "ปลูกได้ ขายได้" โดยไม่ผิดกฎหมาย

1 Posts
1 Users
0 Likes
186 Views
supachai
(@supachai)
Posts: 2471
Noble Member
Topic starter
 

1

พืชกระท่อม (Kratom) หรือ  Mitragyna speciosa คือ พรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae
กระท่อมถูกนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านมานานหลายร้อยปีแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 กระท่อมตกอยู่ภายใต้ยาเสพติดประเภทที่ 5

เนื่องจากปัจจุบันมีการทำวิจัยเกี่ยวกับพืชกระท่อมอย่างแพร่หลายและให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย จึงมีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2564 ยกเลิก “พืชกระท่อม” จากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้มีกฎหมายครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรม พฤติกรรม สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ชนิดใบกระท่อม

ใบกระท่อมถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. พืชกระท่อมชนิดก้านใบสีแดง
2. พืชกระท่อมชนิดก้านใบสีเขียว (แตงกวา)
3. พืชกระท่อมชนิดขอบใบหยัก (ยักษ์ใหญ่, หางกั้ง)

 

สารสำคัญในใบกระท่อมออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการศึกษาวิจัยพบว่าสารเคมีที่พบในพืชกระท่อมมีหลากหลายกลุ่ม เช่น alkaloids, flavonoids, triterpenes, phenolic compounds โดยสารกลุ่ม indole alkaloids เป็นสารกลุ่มใหญ่ที่พบในพืชกระท่อม และมีสารสำคัญหลัก คือ สารไมทราไจนีน (mitragynine) เป็นแอลคาลอยด์ที่พบมากที่สุดในใบกระท่อมของไทยสูงถึงร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับปริมาณสารสกัด alkaloids ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบสาร alkaloids ตัวอื่นๆ ได้แก่ เซเว่นไฮดรอกซี-ไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) มีฤทธิ์แรงกว่า mitragynine 4 เท่า โครแนนทิดีน (corynantheidine) และสเปคชิโอชิลเลียทีน (speciociliatine) ซึ่งพบว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทคล้ายมอร์ฟีน

 

ประโยชน์ใบกระท่อมต่อสุขภาพ

จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้

  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้นโดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ช่วยรักษาอาการไอ
  • ช่วยลดการหลั่งกรด
  • ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  • ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
  • ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและควบคุมอารมณ์ไปในทางที่ดีขึ้น
  • ช่วยในเรื่องการเผาผลาญ
  • ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายในผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์สำคัญของร่างกาย
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้ปวดฟัน
  • แก้ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
  • ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
  • แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
  • ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
  • เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ช่วยลดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า

สูตรเคมีโครงสร้างโมเลกุลสารสำคัญที่พบในใบกระท่อม

เคมีโครงสร้างโมเลกุล (Molecular structure) : Mitragynine

สูตรโมเลกุล (Molecular formula) : C23H30N2O4
น้ำหนักโมเลกุล (Molecular weight) : 398.50 g/mol

เคมีโครงสร้างโมเลกุล (Molecular structure) : 7-hydroxymitragynine

สูตรโมเลกุล (Molecular formula) : C23H30N2O5
น้ำหนักโมเลกุล (Molecular weight) : 414.50 g/mol

 

วิธีใช้ใบกระท่อมในประเทศไทยที่ไม่ผิดกฎหมาย

คนทั่วไปเคี้ยวใบกระท่อมสด 1-3 ใบ หรือบดใบแห้งเป็นผงชงชา หรือต้มน้ำดื่ม สำหรับตนเองได้โดยไม่เป็นความผิดทางอาญา ผลจากการใช้พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิวไม่อยากอาหาร ไม่รู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นานทนแดด ทนร้อนมากขึ้น แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้ใช้ใบกระท่อมจะมีผิวหนังแดง

การใช้กระท่อมในปริมาณที่ปลอดภัย และผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงระยะสั้นของพืชกระท่อม

เนื่องจากสารเคมีในใบกระท่อมในปริมาณต่ำประมาณ 1-5 กรัม จะเกิดผลคล้ายยากระตุ้นจะรู้สึกได้ภายใน 10 นาที และสารเหล่านี้จะอยู่ในร่างกายเป็นเวลา 60-90 นาที อาจมีผลข้างเคียงต่อไปนี้

  • รู้สึกมีพลังงาน และตื่นตัว
  • ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
  • รู้สึกผ่อนคล้าย และมีสมาธิ สงบ
  • ท้องผูก
  • ปากแห้ง
  • รู้สึกอึดอัด
  • วิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
  • เหงื่อออก และคัน
  • แพ้แดด หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
  • อาการคลื่นไส้ และอาเจียน

ผลข้างเคียงระยะยาวของพืชกระท่อม ส่งผลต่อจิตใจและระบบประสาท

เนื่องจากสารเคมีในใบกระท่อมในปริมาณ 15 กรัม (ทำให้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและเป็นยากล่อมประสาท) จะออกฤทธิ์ได้นานหลายชั่วโมง แต่อาจเป็นอันตรายหากใช้ใบกระท่อมเป็นประจำ
อาจมีผลข้างเคียงต่อไปนี้

  • นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
  • เซื่องซึมเคลื่อนไหวช้า
  • ร่าเริ่งผิดปกติ
  • มือสั่น
  • อาการชัก
  • เห็นภาพหลอน
  • ไตเกิดความเสียหาย ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มมาก
  • ผิวหนังเป็นสีเหลือง เกิดจากตับถูกทำลายและทำงานอย่างหนักในการกรองสารพิษออกจากร่างกาย
  • เบื่ออาหารและอดอาหารเป็นเวลานานทำให้อวัยวะล้มเหลวอาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม

  • สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
  • ผู้มีความผิดปกติทางจิต
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ใบกระท่อมถูกนำมาใช้เป็นยา และเครื่องดื่มยอดนิยมของวัยรุ่นภาคใต้ของประเทศไทย เรียกอีกอย่างว่า 4×100 เป็นส่วนผสมของใบกระท่อมและยาแก้ไอที่มีโคเดอีนหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งให้ผลคล้ายกับการดื่มแอลกอฮอล์ บางคนก็นำใบสดมาเคี้ยว หรือใบสดต้มน้ำดื่ม หรือใบแห้งบดชงเป็นชาแม้ใบกระท่อมจะดีต่อสุขภาพหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันนักวิจัยพบหลักฐานมากมายว่าใบกระท่อมมีความเสี่ยงและอัตรายต่อสุขภาพหากใช้ในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 15 กรัมขึ้นไป

ข้อมูลอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/กระท่อม_(พืช)
https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6063

#ต้ม ใบกระท่อม แก้ เบาหวาน
#ต้มกระท่อมไม่ใส่ยาแก้ไอ
#ต้ม น้ำกระท่อม โทษ
#สูตรต้มกระท่อมไม่ใส่ยาแก้ไอ
#ใบกระท่อมแห้งต้มได้ไหม
#ยาแก้ไอใส่น้ําท่อม
#ยาแก้ไอต้มกระท่อม
#ต้นท่อม
#ใบกระท่อม ออกฤทธิ์
#ใบกระท่อม สรรพคุณ
#วิธีดูใบกระท่อม
#ใบกระท่อม pantip
#ใบกระท่อม ตรวจฉี่เจอไหม
#กฎหมายใบกระท่อม ล่าสุด2563
#ใบกระท่อม อาการ
#ใบกระท่อม โทษ
#ยาเบื่อ น้ำท่อม
#น้ําท่อม ผลเสีย
#น้ำท่อมผสมโค้ก
#สูตรน้ำท่อมเมาๆ
#น้ําท่อมสูตรชามิก
#ประโยชน์น้ำท่อม
#น้ําท่อมสูตรไม่ใส่ยา
#การบำบัดผู้ติดน้ำ ท่อม

 
Posted : 26/08/2021 11:42 am
Share: